ยินดีต้อนรับเข้าสู่เทศบาลตำบลทากาศเหนือ ติดต่อสอบถาม 053-976998 แจ้งเหตุด่วน 099-9750597 , 097-9321675 แฟกซ์. 053-976998 ต่อ 207

ปลัด

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร

facebook



ศูนย์ดำรงธรมม







สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 26/11/2562
วันนี้
45
เมื่อวานนี้
342
เดือนนี้
342
เดือนที่แล้ว
5,341
ปีนี้
20,761
ปีที่แล้ว
31,902
ทั้งหมด
208,653
ไอพี ของคุณ
35.172.111.47

1
ปงผาง ESCAPE,เทศบาลตำบลทากาศเหนือ,takadnua.go.th
04 มีนาคม 2565

แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ในเขตเทศบาลตำบลทากาศเหนือ,เทศบาลตำบลทากาศเหนือ,takadnua.go.th
21 มิถุนายน 2564

แผนที่ท่องเที่ยวเทศบาลตำบลทากาศเหนือ,เทศบาลตำบลทากาศเหนือ,takadnua.go.th
09 มกราคม 2563

วัดทาดอยคำ,เทศบาลตำบลทากาศเหนือ,takadnua.go.th
ประวัติความเป็นมา วัดทาดอยคำตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
 
ในปรางเมื่อพระแม่เจ้าจามเทวี ครองเมือง ลั๊วปูน ( ลำพูน) พระนางมีสิริโฉมงามมาก ทำให้พระยาขุนมิลังคะมีสารมาสู่ขอพระนางไปเป็นมเหสี พระนางไม่ยอมตกลงทำให้พระยาขุนมิลังคะไม่พอใจ จึงทำอุบายต่าง ๆ เพื่อที่จะเอาชนะพระนาง จึงประกาศไว้ว่า ถ้าหากพุ่งเสน้า (แหลม คืออาวุธชนิดหนึ่งมีด้ามยาว ๆ ปลายแหลมและคมมาก) มาตกลงกลางเมือง พระนางถึงจะยอมเป็นมเหสี แต่พระนางรู้ว่าพระยาขุนหลวงมิลังคะมีอิทธิฤทธิ์เก่งกล้ามาก จึงออกอุบายจัดหาหมากเมี้ยง ( คือพืชชนิดหนึ่งนำมาหมักและกินได้ คนเมืองเหนือจะกินหลังจากรับประทานอาหาร บุหรี่) และนำหมวกมาให้ใส่ก่อนที่จะพุ่งแหลม เมื่อพระยาขุนหลวงมิลังคะทานหมากเมี้ยงและบุหรีและสวมหมวกที่พระนางจัดไว้ให้ อิทธิฤทธิ์ก็เสื่อมลง พระยาขุนหลวงมิลังคะขึ้นไปอยู่บนยอดยอดสุเทพแล้วพุ่งลงมา ปรากฏว่าแหลมไม่ได้ตกตรงกลางเมืองแหลมพุ่งปักลงดินระเบิดเป็นวงกว้าง จึงเรียกที่นั้น หนองเสน้า (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมืองลำพูน) ดังนั้น พระนางจามเทวี จึงไม่ได้ตกเป็นมเหสีของพระยาขุนหลวงมิลังคะ
 
พระนางจามเทวีจึงได้พำนักอยู่ในพระราชวัง และได้เห็นฟาน (เก้ง ) มีขนสีทอง ซึ่งเก่งมาจากพญาเม็งราย หลงเดินเข้ามาในเมือง ผ่านหน้าพระพักตร์ของพระนาง พระนางอยากได้เก้งตัวนั้น จึงบอกให้เสนาอำมาตย์จับเก้งตัวนั้นไว้ เก้งจึงกระโดดหนีไปหลบอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้ ( ปัจจุบัน เรียกที่นั้นว่า ประตูลี้ ) เก้งได้วิ่งหนีมาหลบอีกที่หนึ่ง ซึ่งลักษณะเป็น สันดอน พวกเสนาทหารก็พากันมาล้อมจับเก้งที่นั่น จึงเรียกที่นั่นว่า สันดอนล้อม ปัจจุบัน คือหมู่บ้านสันดอนลอม
 
พวกทหารติดตามมาได้สักพักหนึ่งจึงหยุดปรึกษากัน และได้ตัดต้นไม้มาต้นหนึ่ง ยาว 24 ศอก เอาผ้าสีชมพูผูกไว้เป็นเครื่องหมาย ไม่ให้หลงทาง จึงเรียกที่นั่นว่า สันต้นธง เป็นหมู่บ้านในปัจจุบัน และเก้งจึงวิ่งไปหลบอยู่ที่ใต้ต้นไม้โพธิ์ ซึ่งมีกิ่งย้อย ปัจจุบัน คือ บ้านศรีย้อย เก้งได้วิ่งข้ามแม่น้ำใหญ่ไป เหล่าทหารเห็นดังนั้น จะข้ามน้ำตามเก้งไป จึงได้ใช้เชือกและเถาวัลย์มาผูกข้ามลำน้ำใหญ่นั้นไป เรียกที่นั่นว่า ท่าจั๊ก ปัจจุบันคือ ท่าจักร
 
เมื่อเดินทางข้ามแม่น้ำมาจึงมาพบหนองน้ำแห่งหนึ่งซึ่งมีเต่าเต็มไปหมด เรียกที่นั่นว่าบ้านหนองแห่ง เดินทางต่อมาอีกสักระยะหนึ่ง เสบียงอาหารที่นำติดตัวได้หมดลงจึงเรียกที่นั่นว่า บ้านเสี้ยง ( ปัจจุบัน คือ บ้านเส้ง ) ทหารได้ติดตามรอยเท้าเก้ง พบคนแก่ คนหนึ่งจึงได้ถามว่าพบเก้งผ่านมาทางนี้หรือเปล่า คนแก่ได้บอกว่าเห็นเก้งเข้าไปในป่า ทหารจึงตัดไม้มาล้อมรั้ว ยิงปืนให้เกิดเสียงด้งกึกก้องจึงเรียกที่นั่นว่า บ้านก้อง เก้งได้ยินเสียงปืน ตกใจวิ่งหนีออกมา ทหารคนหนึ่งสามารถจับเก้งได้ จึงเรียกที่นั่นว่า บ้านปู่จั้ว (ปัจจุบันคือ หมู่บ้านบูชา) แต่เก้งสามารถดิ้นหลุดและหนีออกได้อีก ทหารได้ติดตามเก้ง ตัวนั้น พบคนแก่อีก จึงถามหาเก้งอีก คนแก่ตอบว่าเห็นเก้งซึ่งมีลักษณะ หลังแป้น จึงเรียกที่นั่นว่า บ้านแป้น ตามเก้งมาอีกนิดหนึ่ง ทหารเห็นเก้งวิ่งไปจึงยกมือชี้นิ้ว เรียกที่นั่นว่า บ้านเหมืองจี้ จึงตามเก้งมาติดๆ แต่ก็ตามไม่ทันเก้ง เรียกที่นั่นว่า บ้านป่าตัน ทหารจึงติดตามไม่ลดละจนมาพบหมูป่าตัวหนึ่ง หมูป่าเห็นผู้คนจำนวนมากก็ตกใจ วิ่งหนีขึ้นเขาลูกหนึ่ง เรียกที่นั่นว่า หมูเวิ้งปัจจุบันคือ บ้านหมูเปิ้ง ทหารได้ติดตาม จนมาถึงที่หนึ่งลักษณะคับแคบมากมีทางเดินเล็ก ๆ เดินลำบากมากจึงเรียกที่นั่นว่า บ้านฝั่งหมิ่น เก้งได้ข้ามแม่น้ำอีกสายหนึ่งเรียกว่า (น้ำแม่ถ้า) ปัจจุบันคือ แม่น้ำทา เก้งได้วิ่งมาถึงหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง ที่นั่นมีลำห้วยเล็กๆ ทหารจึงเอาปืนมาแจกจ่ายกันเรียกที่นั่นว่า ห้วยปันปืน ปัจจุบันอยู่ในตำบลทาขุนเงิน
ทหารติดตามมาหลายคืนหลายวัน มาถึงแม่น้ำสายหนึ่ง จึงหยุดพัก เพราะรู้สึกปวดเมื่อย จึงเรียกว่า แม่น้ำเม่ย ปัจจุบันคือ แม่น้ำเมย จึงได้เดินทางต่อไปอีกถึงเนินสัน แห่งหนึ่ง ซึ่งเดินทางมาถึงสว่างพอดี ที่นั่น จึงเรียกว่า สันจอมแจ้ง ปัจจุบันคือ บ้านสวนหลวง เมื่อเดินทางมาอีกระยะหนึ่งจึงได้วางหาบข้าวของสัมภาระทั้งหมด ที่นั่นจึงเรียกว่า บ้านป๋ง ปัจจุบันคือ บ้านปง ทหารได้แยกเป็น 2 กลุ่มติดตาม กลุ่มที่หนึ่งเดินตามฝั่งแม่น้ำ เรียนกว่า แม่น้ำขนาด
 
อีกกลุ่มได้เดินข้ามแม่น้ำและได้ขึ้นทาดอน และได้เห็นแต่หน้าเก้ง ที่นั่น จึงเรียกว่า แท่นหน้าพ่าน ปัจจุบันเรียก ทุ่งหน้าฟาน เก้งได้กระโดดหนีมาอยู่ ด้านทิศตะวันตกของเขาลูกนี้ จึงสร้างวิหารไว้หลังหนึ่ง ปลูกต้นมะขามไว้หนึ่งต้นเรียกที่นั่นว่า วัดน้อย (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) เมื่อหมู่เสนาอำมาตย์มาพบกันขึ้นมาเขาลูกนี้อีกหมู่หนึ่งบอกว่าขึ้นมาเขาลูกนี้ จึงเกิดการสาบานกันที่นั่นเรียกว่า ทุ่งสบด จนถึงปัจจุบัน และเก้งตัวนั้นได้ขึ้นมาบนเขาลูกนี้ เข้าในถ้ำเมื่อจับถูกต้องตัวเก้งเป็นที่อัศจรรย์เก้งจึงกลายหินสีทอง พระนางเจ้าจามเทวีจึงรวบรวมเสนาอำมาตย์ พร้อมก่อสร้างเจดีย์ครอบไว้ ปลูกต้นไม้อันเป็นมงคลไว้ 3 ต้น ต้นมะขามด้านทิศใต้ ต้นพิกุลอยู่ด้านทิศเหนือ ต้นสารภี อยู่ทางทิศตะวันออกเดิมเรียนชื่อ วัดดอยขำ หรือ สุวรรณบรรพต ปัจจุบันวัดดอยคำ เป็นตำนานที่เล่าสืบต่อกัน
09 ธันวาคม 2562

วัดทาดอยแช่,เทศบาลตำบลทากาศเหนือ,takadnua.go.th

ประวัติและตำนานวัดทาดอยแช่

      ตามประวัติแจ้งว่าสร้างประมาณพ.ศ.๒๒๕๘ (อายุ ๒๙๗ปี) ซึ่งในสมัยนั้นตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ (พระเจ้าท้ายสระ) ในสมัยอู่ทอง เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๓๐ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมามาเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๙๑ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๕๐ เมตร อาคารเสนาสนะประกอบไปด้วย อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอระฆัง ศาลาบาตร และวิหารพระครูชยาลังการ ปูชนียวัตถุประกอบไปด้วย พระพุทธรูป และเจดีย์ศิลปะพม่า (พระธาตุ)

     ตามตำนานกล่าวไว้ว่า บริเวณสันขาตรงกับพระธาตุ สมัยก่อนเป็นถ้ำน้ำแม่ทา ถ้ำนี้ถ้าเอามะนาวโยนลงไปปากถ้ำ มะนาวนั้นจะไปทะลุถึงบ่อน้ำบริเวณอุโบสถบ้านทาหมื่นข้าวตำบลทากาศและหนองน้ำวัดหนองเงือก เขตอำเภอป่าซางปัจจุบัน และภายในถ้ำจะมีเครื่องบวชลูกแก้ว (ทางภาคเหนือเขาเอาใส่บวช) ซึ่งประดับด้วยเพชรนิลจินดาสวยงามมาก ถ้าบ้านใดจะมีการบวชลูกหลานก็สามารถเข้าไปยืมมาใส่ได้ โดยนำเข้าตอกดอกไม้ธูปเทียนไปขอกับเจ้าที่เจ้าทางที่รักษาภายในถ้ำนั้น และภายในถ้ำนั้นจะมีสุนัขขนสีทองประมาณ ๒ ตัวรักษาอยู่ปากถ้ำ ถ้าถึงวันเดือนดับเดือนเป็ง (ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๑๕ ค่ำ) สุนัขก็จะออกมาวิ่งเล่นบริเวณปากถ้ำและบริเวณรอบๆ

และยังมีคนเฒ่าคนแก่เล่าอีกว่า บางครั้งได้มีหญิงรูปงามมาขอยืมที่ปั่นฝ้ายจากชาวบ้าน และบางทีจะมีผู้ชายมาแอ่วหาสาวในบ้านด้วย ซึ่งสมัยนั้นเป็นบ้านสามต้าว แต่เดี๋ยวนี้เป็นแม่น้ำทาไหลผ่าน ปัจจุบันเหตุการณ์ผ่านมา น้ำแม่ทานั้นย้ายทิศทางออกไปท่วมบ้านสามต้าว ชาวบ้านอพยพแยกย้ายคนละที่ละทาง บางคนไปอยู่บ้านสันตอบ้าง บางคนไปอยู่บ้านไร่ (ซึ่งเป็นบ้านดอยแช่ปัจจุบัน) และถ้ำนั้นก็ถูกปิดลงจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุผลต่างๆ นานา บางคนว่าเครื่องประดับเครื่องทรงลูกแก้วได้หายไป ถ้ำนั้นก็เลยถูกปิด บางคนก็ว่าท่อนซุงที่ไหลมาตามแม่น้ำทาได้เข้าไปปิดทางเดินของน้ำที่ลอดเข้าไปในถ้ำจึงทำให้แม่น้ำทาเปลี่ยนทิศไปและทำให้แม่น้ำทาเดิมตื้นเขินจนถึงปัจจุบัน ถึงแม่น้ำทาจะถูกปิดลง แต่ความอัศจรรย์ก็ยังเกิดเป็นระยะๆ จนถึงปัจจุบันสร้างความอัศจรรย์ให้แก่ผู้พบเห็นตลอด

 

พระธาตุเสด็จ

พระธาตุเสด็จนี้มีลักษณะคล้ายดวงไฟลูกใหญ่ ๑ ลูก และมีลูกเล็กๆ เป็นบริวาร พระธาตุเสด็จนี้มักจะเห็นใกล้งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุคือออก ๑ ค่ำ เดือนเก้า เป็นต้นไป จนถึง เดือน ๙ ออก ๘ ค่ำ เชื่อกันว่าถ้าใครมีบุญก็คงได้เห็น พระธาตุนี้จะออกจากธาตุวัดทาดอยแช่ไปทางดอยผาด่าน (หรือดอยผาแดง) ทิศตะวันออกเฉียงใต้แล้วลอยมาที่ดอยบ่อหางในเขตบ้านหนองบัว ตำบลทากาศ แล้วจะลอยไปที่ดอยบวบบริเวณทางไปมหาวิทยาลัยนิด้าแล้วลอยมาที่พระธาตุตามเดิม

 

เสียงสวดมนต์

เคยมีอดีตเจ้าอาวาสหลายรูปตอนทำวัตรสวดมนต์ในช่วงเข้าพรรษา เมื่อช่วงเวลานั่งสมาธิมักจะได้ยินเสียงคล้ายสวดมนต์ดังมาจากบริเวณพระธาตุ ฟังก็ไม่ถนัดว่าเป็นเสียงสวดบทใด ซึ่งอดีตเจ้าอาวาสได้ยินมา และยังมีคนเฒ่าคนแก่ที่เคยนอนวัดได้ยินอีกด้วย

 

เสียงแห่กลอง

ซึ่งเสียงแห่กลองมักจะได้ยินในช่วงวันพระ ๑๕ ค่ำบ้าง ๘ ค่ำบ้าง ซึ่งจะได้ยินตอนดึกประมาณตี ๑ ตี ๒ คล้ายๆ การแห่ฆ้องกลองสมัยเก่า ซึ่งเคยมีคนได้ยินแล้ว เคยเห็นมาแล้ว ซึ่งบุคคลนั้นได้ขับรถยนต์ผ่านถนนสันตอ-ดอยแช่ ในขณะขับรถมาถึงบริเวณสะพานข้ามแม่น้ำทา ปรากฏว่าได้ยินเสียงแห่ฆ้องกลองบริเวณปากถ้ำเก่าซึ่งตรงกับพระธาตุ ปรากฏว่าเห็นคนอยู่บริเวณนั้นประมาณ ๔๐-๕๐ คน มีแคร่ตามไฟถือไปมาคล้ายๆ กับมีงาน เมื่อขับรถมาใกล้ๆ ก็เห็นเป็นที่ว่างเปล่า มีแต่ต้นไม้และต้นหญ้าไม่เห็นแม้แต่คนเดียว

และยังมีพระเถระรูปหนึ่งได้เล่าว่า ภายในบริเวณวัดทาดอยแช่แห่งนี้เป็นที่ฝังสมบัติไว้ มีไหเงินไหทองฝังอยู่บริเวณใต้วัดจำนวน ๙ ไห ทรัพย์สมบัติเหล่านี้เจ้าของได้นำมาฝังไว้สมัยสงครามโลก ท่านไม่บอกว่าสงครามสมัยใด สมบัติทั้งหลายเหล่านี้เจ้าของจะมาพบอีกในสมัยพระศรีอริยเมตตรัยที่มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป เรื่องทั้งหมดทั้งหลายเหล่านี้เป็นตำนานจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่หรือผู้ที่ประสบพบเห็นมา

09 ธันวาคม 2562

ศาลเจ้าพ่อผาด่าน,เทศบาลตำบลทากาศเหนือ,takadnua.go.th

 

ศาลเจ้าพ่อผาด่าน


       อายุคนแต่ไม่ได้มีการบันทึกไว้เป็น ลายลักษณ์อักษร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2540 นายสุเทพ ปัญญากาศ (ปัจจุบันเป็นกำนันตำบลทากาศ)ได้แนะนำและชักชวนคณะกรรมการ ให้เดินทางไปที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อไปปรึกษากับครูบาเทืองนาถสีโล แห่งวัดบ้านเด่น ซึ่งครูบาเทืองท่านนี้เป็นครูบาที่มีบุญบารมีมาก ทางคณะกรรมการ ได้เดินทาง ไปวัดบ้านเด่นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ตรงกับวันอาทิตย์ แต่ทางครูบาเทืองได้นัดให้ไปหาท่านอีกครั้งหนึ่ง คือต้องหลังวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2540 และในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2540 ทางคณะกรรมการได้เดินทางไปที่วัดบ้านเด่นอีกครั้ง เพื่อพบกับครูบาเทือง นาถสีโลครูบาเทืองได้นั่ง สมาธิและเล่าให้คณะกรรมการฟังเพื่อเป็นพื้นฐานในการค้นคว้าจากนั้นคณะกรรมการได้ทำการค้นคว้าประวัติเจ้าพ่อผาด่านดังนี้ เจ้าพ่อผาด่าน เป็นพระอุปราชของพระเจ้ามหันตยศ เจ้าเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ในราวปี พ.ศ. 1224และพระเจ้าอนันตยศผู้ปกครองเมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) ในราว

 

       พ.ศ. 1243 สำหรับพระเจ้ามหันตยศและพระเจ้าอนันตยศนั้นเป็นพระราชโอรสแฝดของพระนางเจ้าจามเทวี เจ้าพ่อผด่าน
มีนามเดิมว่า "ขันคำ" มีหน้าที่เฝ้าหน้าด่านระหว่างเมือง 2 เมือง(เมืองหริภุชัย และเมืองเขลางค์นคร) ที่ดอยผาด่านในปัจจุบัน เจ้าพ่อผาด่านได้ร่ำเรียนวิชาความรู้จาก "สุพรหมฤาษี" ซึ่งเป็นฤาษีแห่งดอยผางาม จังหวัดลำปางเจ้าพ่อผาด่านเป็นบุคคลที่มีความกล้าหาญและความซื่อสัตย์เป็นอย่างยิ่งมีความสามารถในการใช้อาวุธทั้งหอกและดาบเป็นอย่างดี ทำหน้าที่นายด่านอยู่จนถึงปี พ.ศ. 1260ในการสร้าง รูปจำลองเจ้าพ่อผาด่าน ได้นำเอาดินจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ 7 แห่งคือวัดพระคงฤาษี วัดมหาวัน วัดประตูลี้ วัดพระธาตุหริภุญชัย ทั้ง 4 แห่งในจังหวัดลำพูน และอีก 3 แห่ง คือ วัดปงยางคก วัดพระแก้วดอนเต้า วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง มาบรรจุไว้ที่ฐานของรูปจำลองเจ้าพ่อผาด่าน

 

ทุกวันที่ 28 เมษายน ของทุกปี จะมีการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระพุทธรูป และรูปจำลองเจ้าพ่อผาด่าน โดยมีผู้มาร่วมงานกันอย่างเนืองแน่นทุกปี

 

09 ธันวาคม 2562

อ่างเก็บน้ำแม่กึม,เทศบาลตำบลทากาศเหนือ,takadnua.go.th

อ่างเก็บน้ำแม่กึม เริ่มทำการก่อสร้าง เมื่อปี 2535 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2536 ดำเนินการก่อสร้างโดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท โดยพื้นที่ที่ทำการก่อสร้างเป็นพื้นที่นา และพื้นที่สวนของราษฎร์ บ้านทองฝาย หมู่ที่ 1 เป็นส่วนใหญ่ ขนาดความจุ 1,062,000 ลูกบาศก์เมตร อ่างเก็บน้ำแม่กึมสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ในด้านการเกษตร หรือในช่วงฤดูทำนา พื้นที่นาบริเวณอ่างเก็บน้ำจะใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำแม่กึม ประมาณ 200 ไร่ และในช่วงฤดูแล้งจะนำน้ำในอ่างก็บน้ำแม่กึมไปใช้ประโยชน์ในการทำสวนลำไย ประมาณ 2,500 ไร่

09 ธันวาคม 2562

1

ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1  (7 รายการ)